Phaeogyroporus portentosus (Berk.et Broone) Mc. Nabb. |
หมวก รูปกระทะคว่ำและแบนลง เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 -- 30 เซนติเมตรดอกอ่อนมีขนละเอียดคล้ายกับมะหยี่สีน้ำตาล ผิวสีน้ำตาลเข้มปนเหลืองอ่อน เมื่อบานเต็มที่กลางหนวดเว้าลงเล็กน้อย ผิวปริแตกเป็นแห่งๆ เนื้อในสีเหลืองอ่อน ด้านล่างเต็มไปด้วยรูเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียว กับสีเหลืองค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียวอมน้ำตาล เนื้อสีเหลืองเมื่อตัดจะเปลี่ยน เป็นสีน้ำเงินอมเขียวปนเปื้อน โดยเฉพาะเหนือรูขึ้นไปจนเกือบถึงผิวหมวกและบริเวณก้านตอนบน
ก้าน อวบใหญ่ สีน้ำตาลอมเหลือง ยาว 4 -- 8 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 -- 4 เซนติเมตร โคนก้านโปร่งเป็นกระเปาะ บางส่วนนูนและเว้าเป็นแอ่งหรือร่อง ผิวมีขนละเอียดคล้ายกับมะหยี่สีน้ำตาลเหมือนหมวก
สปอร์ ค่อนข้างกลม ขนาด 5.2 -- 6.2 x 6.6 -- 9.4 ไมโครเมตร ผิวเรียบผนังหนาเห็ดชนิดนี้พบ ทางภาคเหนือขึ้นเป็นกลุ่มโคนติดกัน
กลุ่มละ 5 --10 ดอกรับประทานสุกๆดิบๆเป็นพิษ ทำให้คลื่นไส้ เวียนศีรษะและท้องเดิน พิษจะหายภายใน 3 -- 5 ชั่วโมง
ข้อสังเกต เห็ดที่ตัดแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ควรต้มให้สุกก่อนรับประทาน เห็ดตับเต่าที่มีปากรูสีแดงเรื่อๆหรือแดง ก็ไม่ควรรับประทาน
เพราะอาจมีพิษได้เช่นเดียวกับเห็ดห้าที่เป็นพิษ
ที่มา : หนังสือเห็ดพิษ ของสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย / บ้านเห็ด 111
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น