Amanita Pantherina (Dc. Ex. FR.) Secr. |
ชื่อพื้นเมือง เมื่อยังอ่อนมีเปลือกหุ้มรูปกลม หรือรูปไข่สีขาว ด้านบนปริแตกออกเป็น เกล็ดเล็กๆ ติดอยู่บนหมวกซึ่งหลุดง่าย
หมวก รูปกระทะคว่ำ สีน้ำตาลอมเหลือง หรือสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลาง2-8 เซนติเมตรผิวมีขนหรือเกล็ดบางๆ
โคนก้าน สีขาวชัดเจนบริเวณโคนโป่งเป็นกระเปาะและมีเปลือกหุ้มดอกอ่อน ส่วนที่เหลือติดกับขอบและแถบ
วงกลมซ้อนกัน 1-2 ชั้น ก้านตอนบนหรือกึ่งกลางมีวงแหวนสี ขาว หรือสีขาวนวล ซึ่งหลุดได้ง่าย
สปอร์ สีขาว รูปรี ผิวเรียบ ผิวบาง ขนาด 6-5 x 8-12 ไมโครเมตร พบในป่าผลัดใบและป่าสนทางภาคเหนือ
Amanita muscaria (L.ex.Fr.) Hooker. |
นอกจากเห็ดทั้งสองชนิดแล้วมีผู้รายงานเห็ดในสกุล Inocybe และClicotybeไว้อีกสกุลละ 3 ชนิดโดยระบุว่าเป็นเห็ดมีพิษจึงควรมีสารพิษในกลุ่มนี้ได้แก่ เห็ด Inocybedestricata, I. Ifelix, I. splendens, Clitocybe flaccida, C.gibba และ C.phyllophilaแต่ Clitocybe flaccida และ C.gibba มีรายงานว่ารับประทานได้ (เกษม 2537) เพื่อความปลอดภัยต้องศึกษาและเรียนรู้เห็ดแต่ละชนิด หลีกเลี่ยงรับประทานเห็ดในสกุล Amanita, Clitocybe และ Inocybe ไว้ก่อนเพราะถ้าเป็นพิษอาการปางตาย
ที่มา : หนังสือเห็ดพิษ ของสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย / บ้านเห็ด 111
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น