จำนวนการดู

การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

 การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก  



การทำถุงก้อนเชื้อเห็ด(Bag culture)        

        เป็นการเลี้ยงเส้นใยเห็ดบนวัสดุเพาะในถุงพลาสติก วัสดุเพาะเห็ดในถุงพลาสติก มีอยู่หลายสูตรด้วยกัน เห็ดแต่ละชนิดมีส่วนผสมเหมือน ๆกันแตกต่างกันบ้างเพียงบางส่วน แต่ในปัจจุบันนี้นิยมอยู่เพียงสูตรเดียวคือ สูตรขี้เลื่อย โดยเฉพาะขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนอื่น ๆก็ใช้ได้ดีเช่น ไม้มะม่วง ไม้มะขาม ไม้ฉำฉา แต่หายาก การเพาะเห็ดด้วยถุงพลาสติก สามารถเพาะเห็ดได้หลายชนิด เช่น เห็ดนางฟ้า, เห็นนางรม,เห็ดหูหนู,เห็ดเป๋าฮื้อ, เห็ดขอนขาว,เห็ดลม,เห็ดยานางิ,เห็ดเข็มเงิน,เห็ดเข็มทอง และเห็ดหอมเป็นต้น

 การเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ 
1.เตานึ่งก้อนเห็ด
2.โรงพักก้อน และโรงเปิดดอก
3.ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน
4.ถุงพลาสติกสำหรับเพาะเห็ด (ถุงร้อนPP) ขนาด 6.5 x 12.5 นิ้วหรือใหญ่กว่า
5.ดีเกลือ
6.ยิปซั่ม
7.ปูนขาว
8.เชื้อเห็ดชนิดที่ต้องการ
9.คอขวด
10.จุกพลาสติก (จุกประหยัดสำลี)
11.ยางรัด (ยางแก้ว วงเล็ก)
12.สำลี
13.กระดาษเหลือใช้ เช่น หนังสือพิมพ์ ตัดขนาด 10 x 10 ซม. 
14.แอลกอฮอล์ 70%

 ส่วนผสม 

1. ขี้เลื่อย 100 กก. (เป็นก้อนที่อาศัยของเส้นใยเห็ด เป็นอาหารเห็ด)
2. รำ 5 กก. (เป็นอาหารเห็ด ใส่มากก้อนเสียมาก ใส่น้อยไปผลผลิต ต่ำดอกเล็ก)
3. ปูนขาว 1 กก. (ปรับค่าความเป็นกรดด่าง ให้ธาตุแคลเซียมแก่เห็ด)
4. ยิปซั่ม 2 กก. (ปรับค่าความเป็นกรดด่าง ให้ธาตุแคลเซียมแก่เห็ด)
5. ดีเกลือ 2 ขีด(ช่วยในการเดินของเส้นใย ทำให้แข็งแรงให้ธาตุ แม็กเนเซียม)
6. น้ำพอประมาณ (50-70 ลิตร ใช้ปรับความชื้น 60-65%)
7. น้ำตาล 1 กก. หรือกากน้ำตาล 2 กก. (เป็นอาหารเสริมเส้นใยให้เดินเร็ว แข็งแรง เพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะ     ช่วงเชื้อเดินช้าควรเติม แต่ถ้าช่วงฤดูที่เชื้อเดินเร็วอาจไม่จำเป็นต้องเติม)
อัตราส่วนผสมนี้เป็นสูตรมาตรฐาน  โดยทั่วไปใช้ได้กับการเพาะเห็ดหลายชนิด การปรับปรุงส่วนผสมนี้สามารถทำได้ตามความเหมาะสมและวัสดุในท้องถิ่น โดย ยึดแนวทางประหยัด ปลอดภัยและได้ผล ประโยชน์ที่คุ้มค่าลดต้นทุน เช่น อาจเติมปุ๋ยหมัก มูลสัตว์ ฯลฯ

การปฏิบัติ
เพาะเห็ดในถุงพลาสติก.....
วัตถุดิบ - ส่วนผสม
ผสมคลุกเค้าให้เข้ากัน
1. กองขี้เลื่อยจำนวนตามสูตร   บนพื้นปูนซีเมนต์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หนาประมาณหนึ่งคืบ หว่านรำ ปูนขาว ยิปซั่ม ตามสูตรลงไปให้ทั่วกอง ทำการผสมคลุกให้เข้ากันโดย ใช้พลั่วตั้งกอง-ล้มกอง เหมือน ผสมปูนจนทั่ว แล้วกองขี้เลื่อย เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังเดิม ละลายดีเกลือในบัวรดน้ำรดลง ไปบนกองชี้เลื่อยให้ทั่ว รดน้ำตามลงไปให้ทั่วกะพอหมาด ๆ ผสมขี้เลื่อยอีกครั้งให้เข้ากัน ดูให้ชื้นเท่ากันทั่วกอง โดยปรับความชื้นกองขี้เลื่อยให้ได้ 60-65 % ใช้มือกำขี้เลื่อยบีบพอแน่น แล้วดูว่ามีน้ำซึมออกมาตามร่องนิ้ว แสดงว่าเปียกไป ให้น้ำขี้เลื่อยแห้งเพิ่มลงไป ถ้าไม่มีน้ำซึมออกมาให้แบมือ ออกขี้เลื่อยรวมตัวเป็นก้อน แล้วแตกออก 2-3 ส่วน แสดงว่าพอดี ใช้ได้ (ความชื้น 60-65%) แต่ถ้าร่วนไม่รวมตัวเป็นก้อน ให้เพิ่มน้ำลงไปจนพอดี อาจหมักไว้หนึ่งคืนหรือกรอกถุงเลยก็ได้

กรอกใส่ถุงทนความร้อน

ใส่คอขวด
2. กรอกถุงทุบอัดถุงให้แน่น ใส่คอขวด ปิดด้วยจุกประหยัดสำลี รอนึ่งฆ่าเชื้อ ก้อนหนึ่งหนักประมาณ 9 ขีด ถึง 1 กิโลกรัม




การนึ่งฆ่าเชื้อโรค
หม้อนึ่งลูกทุ่ง
3. การนึ่งฆ่าเชื้อ
เมื่อเตรียมถุง เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นำไปนึ่งฆ่าเชื้อ ด้วยหม้อนึ่งก้อนเห็ด หรือหม้อนึ่งลูกทุ่ง เพื่อฆ่าเชื้อต่าง ๆ ที่เป็นศัตรูเห็ด เวลาในการนึ่งขึ้นอยู่กับ ลักษณะของหม้อ นึ่งและจำนวนก้อนเชื้อ อาจนึ่งเพียง 2 ชั่วโมงสำหรับ การนึ่งเชื้อจำนวนน้อย และนึ่ง 4-6 ชั่วโมง ถ้าก้อนเห็ดจำนวนมาก (เวลานับจากน้ำเดือน ความร้อยระอุทั่วถังนึ่ง) ขึ้นตอนนี้ อย่าลืมเอาสำลี ใส่กระสอบหรือถุง นึ่งไปด้วยสัก 3-4 กก. ส่วนผสมขี้เลื่อย 100 กก. จะได้ถุงก้อนเชื้อโดยประมาณ 150 ถุง หัวเชื้อ 1 ขวดแบน จะเขี่ยเชื้อได้โดยประมาณ 50 ถุง

ใส่เชื้อเพื่อขยายเชื้อในก้อนเชื้อเห็ด
ใส่เชื้อเพื่อขยายเชื้อ
4. การเขี่ยเชื้อเห็ดลงในถุง
ก้อนเชื้อ  ก้อนเชื้อที่ได้จากการนึ่งฆ่า เชื้อเสร็จเรียบร้อยแล้วรอให้เย็น หรืออุ่น ๆ เกือบเย็น ให้นำหัวเชื้อเห็ด ในเมล็ดข้าวฟ่าง ที่ทำขึ้นหรือ ซื้อเตรียมไว้ล่วงหน้ามา เขี่ยลงไปในก้อนเชื้อนี้ เขี่ยในห้องลมสงบ สะอาด โดยเปิดจุกประหยัดสำล ออกแล้วหยอดเมล็ด เชื้อข้าวฟ่างที่เขย่า ให้ร่วนเทในถุงก้อน เชื้อถุงละ ประมาณ 25-30 เมล็ด แล้วปิดจุกด้วย สำลีที่นึ่งในขั้นตอนที่ 4 (ปั้นสำลีเป็นก้อนกลม ๆ ) ครอบยางรัดให้แน่น

นำขึ้นชัั้น เพื่อให้เชื้อเดินเติมก้อน
เชื้อเริ่มเดิน
 5. นำขึ้นชั้นพักก้อนเชื้อ
หัวเชื้อที่ดีนั้น ควร เป็นหัวเชื้อทีเส้นใยเห็ด เจริญเต็มขวดใหม่ ๆ ไม่มีเชื้อราสีต่าง ๆ ปน การเขี่ยต้องทำในห้องลมสงบ  ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ(บ้านเห็ด)ทำให้สะอาดที่สุด มือผู้เขี่ยจะ ต้องเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70% ใช้จุกสำลีของขวดเชื้อ จุ่มแอลกอฮอล์เช็ด ปากขวดเชื้อบ่อย ๆ

6. การพักถุงก้อนเชื้อ & เปิดดอก  ก้อนเชื้อเห็ด หลักจากที่เขี่ยเชื้อแล้ว เราจะนำก้อนเชื้อนี้ไป บ่มเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ อากาศถ่ายเทได้ดี ความชื้นต่ำ เพื่อรอให้เส้นใยเจริญเติบโตลามเต็มถุง ปกติจะใช้เวลานานประมาณ 3-4 สัปดาห์ โรงเรือนควรมีแสงสว่างน้อย หากมีแสงมากการเกิดดอกจะเร็วกว่าปกติเห็ดที่ออกยังไม่ค่อยสมบูรณ์ ระยะบ่มที่มาตรฐานคือประมาณ 20-25 วัน
แต่ทั้งนี้การบ่มก้อนระยะเวลาต่างกันขึ้น กับชนิดของเห็ดและสิ่งแวดล้อม เมื่อเชื้อเต็มก้นถุงนำไปเปิดดอกได้ อย่าให้ก้อนเชื้อเต็มจนรัดแน่น แล้วเปิดดอก ควรให้ก้อนเชื้อระยะที่เชื้อเดินเต็มใหม่ ๆ นำมาขึ้นโรงเปิดดอก (ทำเป็นแผงแบบ ตัว A) เปิดถุงเพาะโดยแกะกระดาษออก ดึงเอาสำลีออก แคะเม็ดข้าวฟ่างออกให้สะอาด เอาคอขวดออก

7. โรงเห็ดอัตโนมัติ(โรงเปิดดอก)  ที่สามารถควบคุม อูณหภูมิ ความชื่น อากาศ ได้เพียงดีดนิ้วเห็ดก็ออกดอก   เริ่มรดน้ำ 3-5 วันจะเกิดดอก ถ้าเป็นเห็ดหูหนูต้องเปิดดอกแบบแขวน และออกดอกตามรอยกรีด ประมาณ 10 วันหลังจากกรีดจะออกดอกการเปิดดอก  การดูแลโรงเรือน ต้องดูแลเรื่องความสะอาด การถ่ายเทของอากาศ แสง ความชื้นในโรงเรือน และธรรมชาติ ลักษณะนิสัยของเห็ดแต่ละชนิด ต้องเฝ้าสังเกตดูแลอย่างใกล้ชิด



Credit : Khaomak / บ้านเห็ด 111

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น