คำนำ
เห็ด ในที่นี้จะกล่าวถึง เฉพาะที่โดยทั่วไปนิยมบริโภคและขายกันนะครับ เห็ดโดยทั่วไปมีหลายประเภททั้งที่กินได้และกินไม่ได้ สิ่งพวกนี้เราควรที่จะศึกษาไว้บ้าง (ก่อนที่จะผลิตเห็ดขาย) เห็ดที่กินได้เราเรียกว่า "เห็ดบริโภค" ส่วนเห็ดที่กินไม่ได้เราเรียกว่า "เห็ดพิษ" และเห็ดที่นำไปรักษาโรคได้เรียกว่า "เห็ดทางการแพทย์"
เห็ด มีผลวิจัยทางการแพทย์ว่าเมื่อบริโภคแล้วสามารถยับยั้งสารก่อมะเร็งได้ แต่ต้องนำมารวมกันให้ได้ 3 ชนิดขึ้นไปนะครับจึงจะได้ผล เดือนหนึ่งพวกเราควรจะกินเห็ดกันสัก 2 - 3 ครั้งก็น่าจะดี เพื่อลดอนุมูลอิสระในร่างกายหรือที่เรียกว่า "สารก่อมะเร็ง"
เห็ด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เห็ดร้อนและเห็ดเย็น เราดูที่ว่าเจ้าคุณเห็ดเขาชอบอุณหภูมิแบบไหน ถ้าชอบอุณหภูมิมากกว่า 25 *C เรียกว่า "เห็ดร้อน" แต่ถ้าชอบอุณหภูมิต่ำกว่า 25 *C เรียกว่า "เห็ดเย็น"
ต่อไปเรามาเจาะลึกอีกนิดว่าเห็ดแต่ละชนิดเป็นอย่างไร หน้าตาเป็นอย่างไรกันดีมั้ย ชอบและไม่ชอบอุณหภูมิแบบไหน เราจะได้เอาใจเขาได้ถูกแล้วเขาก็จะสร้างคุณภาพและผลผลิตให้เราดีๆเป็นผลตอบแทนซึ่งกันและกัน
เห็ดที่นิยมเพาะ กันอย่างกว้างขว้าง เพราะเหมาะกับสภาพแวดล้อมบ้านเรา
|
ปัจจัยที่ต้องควบคุมให้ได้ในการเพาะเห็ด |
เห็ดร้อน หมายถึง เห็ดที่ชอบขึ้นในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิประมาณ 25 - 35 องศาเซลเซียส ได้แก่ เห็ดหูหนู เห็ดฟาง เห็ดโคนน้อย เห็ดขอนดำ เห็ดขอนขาว เห็ดหลินจือ เห็ดลม(เห็ดบด เห็ดกระด้าง) เห็ดต๋งฝน เห็ดตีนแรด เห็ดนกยูง เห็ดแคลง เห็ดตับเต่า เห็ดเผาะ เป็นต้น
เห็ดเย็น หมายถึง เห็ดที่ขึ้นในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ได้แก่ เห็ดนางฟ้าภูฏาน(ดอกดำ) เห็ดนางรมดอย เห็ดนางรมฮังการี เห็ดโคนญี่ปุ่น(เห็ดยานางิ) เห็ดนางนวล เป็นต้น
เห็ดที่ชอบอากาศเย็นจัด เห็ดในกลุ่มนี้เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ตัวอย่างเห็ดที่อยู่ในกลุ่มนี้ คือ เห็ดหอม เห็ดเข็มเงิน เห็ดเข็มทอง เห็ดไมตาเกะ เห็ดนามิโกะ เห็ดโคนหลวง(ชิเมจิ) เห็ดแชมปิญอง(เห็ดกระดุม) เห็ดภู่มาลา(เห็ดหัวลิงหรือเห็ดปุยฝ้าย) เห็ดนางรมหลวง(ออเรนจิ) เป็นต้น